ยินดีต้อนรับสู่เว๊ปไซท์ชุมชนบ้านเขาน้ำซับ ทีมงานหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเว๊ปไซท์นี้จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมและผู้ที่ติดตามข่าวสารของชุมชนหากมีข้อติชมหรือต้องการให้ปรับปรุงแก้ไขโปรดติดต่อทีมงาน....ขอขอบคุณทุกๆท่าน

วันเสาร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2562

สัมมนาผู้นำชุมชนกับ ปตท


บริษัท ปตท.ได้นำผู้นำชุมชนในเขตเทศบาลนครแหลมฉบังจำนวน 12 ชุมชนพร้อมเจ้าหน้าที่กองสวัสดิการและสังคมเทศบาลนครแหลมฉบัง ไปสัมมนาและศึกษาดูงานในจังหวัดระยองและจังหวัดจันทบุรี เวลา  06.00 น.ผู้นำชุมชนทั้งหมดได้ลงทะเบียนพร้อมกันที่เทศบาลนครแหลมฉบัง โดบบริษัท ปตท.ได้จัดรถบัสจำนวน4คันและพร้อมออกเดินทางมุ่งสู่จังหวัดระยอง


ทั้งหมดได้เดินทางถึงสวนสมุนไพร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี รับฟังการบรรยายสรุปความเป็นมาของสวนสมุนไพรและการก่อตั้งโรงแยกก๊าซธรรมชาติระยอง หลังจากนั้นได้นั่งรถที่ทาง ปตท.จัดเตรียมไว้เข้าชมสวนสมุนไพรและสนามฟุตบอล สโมสรพีทีทีระยอง ซึ่งอยู่ภานในบริเวณสวนสมุนไพร


นั่งรถชมรอบๆบริเวณสวนสมุนไพรและฟังการบรรยายของเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับสมุนไพร



สวนสมุนไพรสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อ.เมืองระยอง จ.ระยอง บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) สร้างสวนสมุนไพรแห่งนี้ขึ้นภายใต้แนวคิด มิติการเรียนรู้ด้านสมุนไพรอย่างสนุกสนานเป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์สมุนไพรมากกว่า 20,000 ต้น (260 ชนิดโดยจัดกลุ่มจำแนกตามสรรพคุณการรักษาตามคัมภีร์ยาไทยโบราณ; 20 กลุ่มอาการ) เปิดให้บุคคลทั่วไปได้เข้าเยี่ยมชม พักผ่อนหย่อนใจ และศึกษาหาความรู้ด้านพฤษศาสตร์และสมุนไพร แบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ ได้แก่- อาคารเฉลิมพระเกียรติ 50 พรรษาซึ่งประกอบด้วยห้องประชุมสัมนา ห้องนิทรรศการความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรไทย ทั้งที่ควรอนุรักษ์และที่ใกล้ตัวในวิถีชีวิตประจำวันโดยมีมัคคุเทศก์บรรยายและนำชมตลอดเส้นทาง โดยไม่เสียค่าใช้ใดๆทั้งสิ้น ในส่วนสวนสมุนไพรสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จะมีการชมโดยรถ NGV (รถที่ใช้เชื้อเพลิงจากก๊าซธรรมชาติ) โดยมีมัคคุเทศก์บรรยายและนำชมตลอดเส้นทางเช่นเดียวกัน โดยรถ NGV จะออกทุก 30 นาที (ตามตารางรอบกำหนด) โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น นอกจากนี้ทางส่วนสมุนไพรฯ ยังได้จัดให้มีร้านค้าส่วนบริการ ได้แก่ ร้านอาหารเครื่องดื่ม ร้านขายของที่ระลึก และร้านนวดเพื่อสุขภาพ สวนสมุนไพรสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ตั้งอยู่บริเวณศูนย์บำรุงรักษาและบ้านพัก ปตท. บนถนนทางหลวงหมายเลข 3191 ต.มาบข่า กิ่งอ.นิคมพัฒนา จ.ระยอง เปิดทำการวันอังคาร-วันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 09.00-16.00 น. (หยุดวันจันทร์)


สโมสร พีทีที ระยองอยู่ลำดับกลางๆตารางของไทยลีค



หลังจากนั้นได้เดินทางต่อไปยังโรงแยกก๊าซธรรมชาติเพื่อเยี่ยมขบวนการผลิตก๊าซธรรมชาติ



จากนั้นได้เดินทางไปดูงานที่ชุมชนเกาะกก

“ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว” รวงข้าวเหลืองอร่ามทั่วท้องนา 15 ไร่ สำราญ ทิพย์บรรพต ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนส่งเสริมอาชีพชุมชนเกาะกก เล่าว่า ชุมชนเกาะกกถือเป็นชุมชนเมืองในเขตอุตสาหกรรมมาบตาพุด ที่แยกตัวออกมาตั้งเป็นชุมชนใหม่ ปัจจุบันมีประชากรรวมกันกว่า 1,000 คน หรือราว 500 ครัวเรือน ซึ่งได้รวมกลุ่มกันจัดตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชน เพื่อสร้างความเข้มแข็งของชุมชน โดยคนหนุ่มสาวรุ่นใหม่และผู้ใหญ่รักความเป็นวิถีเกษตร ตามแนวพระราชดำริปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จึงเกิดไอเดียที่อยากจะอนุรักษ์ประเพณีลงแขกดำนาของชุมชนในอดีต ผืนนาแปลงสุดท้ายท่ามกลางความเจริญอุตสาหกรรม
จากจุดเริ่มของการรักษาแปลงนาผืนสุดท้ายแล้ว นำมาสู่การปลูกข้าวคุณภาพเพื่อเลี้ยงชุมชน ซึ่งพื้นที่บางส่วนเป็นที่ลุ่ม อยู่ติดคลองมีน้ำไหลผ่านชุมชน จึงเหมาะแก่การเพาะปลูก ในผืนนาจึงมีปลูกข้าวหลายชนิด อาทิ ข้าวกล้องไรซ์เบอรี่ ข้าวกล้องหอมนิล ข้าวกล้องสังข์หยด ข้าวหอมมะลิ ซึ่งสายพันธุ์ข้าวกล้องต่างๆ เหล่านี้ ชุมชนได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นำมาปลูกในพื้นที่ ได้ผลผลิตดี ราคางาม อีกทั้ง “ต้นทุน” การนำข้าวเปลือกมาเป็นเมล็ดข้าว มีต้นทุนน้อย ด้วยคนในชุมชนมาช่วยกันสีข้าว นำมาบรรจุถุงจำหน่ายในร้านค้าของกลุ่มในชุมชน







“จากข้าวกล้องสุขภาพของชุมชนเกาะกกยังต่อยอดออกไปอีกขั้น มาเป็นขนมยามว่าง ข้าวไรช์เบอรี่ สแนคบาร์ เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มจากการจำหน่ายข้าว ในขณะเดียวกันผลิตภัณฑ์ข้าวต่างๆ ยังส่งจำหน่ายที่มูลนิธิชัยพัฒนา และศูนย์การค้าต่างๆ สร้างรายได้ให้แก่คนในชุมชนเป็นอย่างมาก”
นอกจากปลื้มผลิตภัณฑ์ข้าวกล้องของดีชุมชนเกาะกกแล้ว สำราญ ประธานกลุ่มฯ ยังมองไปข้างหน้าอีกว่า
“ชุมชนเกาะกกตั้งเป้าหมายจะขยายเครือข่ายพื้นที่ปลูกข้าวเพิ่มอีกกว่า 140 ไร่ อีกทั้งยังคงอนุรักษ์ประเพณีลงแขกดำนาเกี่ยวข้าว และรักษาวัฒนธรรมงานบุญประเพณีของชุมชน ที่เป็นการรวมตัวของคนจากหลายภูมิภาคให้สืบสานด้วย”


หลังจากเยี่ยมชมและฟังการบรรยายจากผู้นำชุมชนเกาะกกแล้วได้เดินทางไปรับทานอาหารที่ร้านตำนานป่า


รับประทานอาหารอิ่มมีเรี่ยวมีแรงแล้วขบวนผู้นำชุมชนได้เดินทางมุ่งสู่จังหวัดจันทบุรี


ศูนย์อัญมณีจังหวัดจันทบุรี


หลังจากฟังบรรยายสรุปความเป็นมาของการกำเนิดพลอยของจังหวัดจันทบุรีแล้ว ทั้งหมดขึ้นรถบัสเดินทางไปสักระศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินและศาลหลักเมืองจันทบุรี

ศาลสมเด็จพระเจ้าตากจังหวัดจันทบุรี



จากนั้นได้เดินทางไปรับประทานอาหารที่ร้านปลาทู



รับประทานอาหารเย็นแล้วเข้าพักที่โรงแรมนิวทราเวลพักผ่อนเอาแรงพร้อมที่จะทำกิจกรรมต่อใในวันต่อไป


กิจกรรมวันที่ 2 กับ ปตท.ห้องมณีทิพย์ 
สนุกสนามกับการเล่นเกมส์และจัดให้แต่ละชุมชนนำเสนอความประทับกับ ปตท. โดยให้แต่ละชุมชนเขียนถึงความประทับใจที่ ปตท.ได้ร่วมกิจกรรมแต่ละชุมชนตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน









หลังจากนั้นได้รับประทานอาหารมื้อกลางวันและพร้อมที่จะเดินทางต่อไปยัง รัตนะรีสอร์ท





ทั้งหมดเข้าที่พักพักผ่อนตามอัธยาศัยและเตรียมพร้อมล่องแพเปียกชมป่าโกงกางและนกเหยี่ยวแดง




ก่อนลงแพจัดสักหน่อย





ล่องแพชมธรรมชาติ



สนุกสนานก่อนงานเลี้ยงคืนนี้


พี่จุ๋มเจ้าหน้าที่ ปตท.หนุ่มใหญ่สไตล์ครันทรี่


สีสันงานเลี้ยงจัดเต็ม




อาหารก็จัดเต็ม



ทีมงานชุมชนบ้านเขาน้ำซับ



สำหรับงานเลี้ยงค่ำคืนนี้มีการประกวดเครื่องแต่งกายสีสันสไตล์ผลไม้ซึ่งชุมชนที่ได้อันดับ1 คือชุมชนวัดประทานพร  และมีการประกวดร้องเพลงพร้อมเเด้นเซอร์ชุมชนบ้านเขาน้ำซับได้อันที่3 ไปครองพร้อมของรางวัลขนมแก๊บแก๊บคนละห่อ


งานเลี้ยงย่อมมีวันเลิกลา เข้าห้องพัก พักผ่อนร่างกายไว้สำหรับการเดินทางวันที่3





รับประทานเช้าที่รัตนะรีสอร์ทแล้วเตรียมเดินทางต่อไปไหว้พระที่โบสถ์สีน้ำเงินเสร็จแล้วเดินทางไปอ่าวคุ้งกระเบนเพื่อไปชมโครงการพระราชดำหริใในหลวงรัชการที่9


อีกหนึ่งโครงการของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่แสดงให้เห็นถึงพระอัจฉริยภาพ และความห่วงใยที่พระองค์ทรงมีต่อราษฎรในพื้นที่ต่าง ๆ นั่นก็คือ "ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน"

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน สร้างขึ้นเพื่อทำการฟื้นฟูและจัดการทรัพยากรชายฝั่งหรือป่าชายเลนอย่างยั่งยืน ตั้งอยู่ที่อ่าวคุ้งกระเบน ตำบลคลองขุด อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี มีเนื้อที่รอบชายฝั่งประมาณ 2,000 ไร่ และถ้ารวมพื้นที่รอบนอกในเขตตำบลคลองขุด ตำบลสนามไชย และพื้นที่ใกล้เคียงที่เป็นเขตหมู่บ้านประมงตลอดแนวชายฝั่งทะเล อีกทั้งเขตเกษตรกรรมแล้ว ก็จะมีพื้นที่ราว 32,000 ไร่

หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่าจริง ๆ แล้วป่าชายเลนมีความสำคัญและมีประโยชน์ต่อระบบนิเวศน์อย่างมาก เพราะเป็นพื้นที่ป่าที่มีพืชพันธุ์ต่าง ๆ ที่สามารถนำไปทำฟืนที่มีคุณภาพดี หรือใช้ทำหมึก สีกาว และสารฟอกหนังได้เช่นกัน

ส่วนในมุมมองด้านการประมงนั้น จะสามารถมองเห็นได้ค่อนข้างชัดเจนว่าป่าชายเลนคือแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำ และเป็นแหล่งเพาะพันธุ์กุ้งและปลาสายพันธุ์ต่าง ๆ เพราะบริเวณป่าชายเลนจะมีคลื่นไม่แรงมาก ทำให้สัตว์น้ำตัวเล็ก ๆ สามารถใช้ชีวิตอยู่ได้ และเศษกิ่งไม้และใบไม้ต่าง ๆ ในผืนป่าแห่งนี้ ก็เป็นแหล่งอาหารชั้นดีให้กับสัตว์น้ำตัวเล็ก ๆ เหล่านี้ด้วย

นอกจากนี้ ป่าชายเลนก็ยังช่วยลดความแรงของคลื่นที่เข้ามากระทบชายฝั่งได้เป็นอย่างดี เพราะแรงกระแทกของคลื่นจะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงให้กับที่อยู่อาศัยริมน้ำได้ อีกทั้งป่าชายเลนยังช่วยกรองของเสียก่อนลงสู่ทะเลได้บางส่วน ทำให้ของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมไหลลงสู่ทะเลน้อยลง

แต่ด้วยภาวะปัจจุบันที่พื้นที่ป่าชายเลนลดน้อยลงมาก เพราะมีการบริโภคและมีความต้องการมากจนเกินไป สาเหตุที่สำคัญคือการตัดไม้ทำลายป่า เพราะพืชพันธุ์บริเวณป่าชายเลนนั้นสามารถนำไปใช้ทำฟืนได้เป็นอย่างดี รวมไปถึงการบุกรุกพื้นที่ป่าชายเลนเพื่อทำฟาร์มกุ้งต่าง ๆ รวมทั้งเรื่องหนึ่งที่น่ากังวล คือ การอนุรักษ์ป่าชายเลนนั้นยังทำไม่ได้อย่างต่อเนื่อง จึงยากที่จะกลับมาอุดมสมบูรณ์ได้เหมือนเดิม

ในหลวง รัชกาลที่ 9 ทรงเห็นความสำคัญของป่าชายเลน จึงมีพระราชดำริในการจัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน ซึ่งเป็นศูนย์การอบรมและเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการศึกษาวิจัย เพื่อช่วยยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนบริเวณนั้นให้ดีขึ้น และช่วยพัฒนาอาชีพประมงขั้นพื้นฐาน ตลอดจนพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งทะเลให้มีผลผลิตที่มากขึ้นด้วย

ปัจจุบันศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนเป็น “พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต” แหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่ให้ความรู้กับผู้คนที่มาเยี่ยมชม เพื่อสร้างความเข้าใจและมองเห็นความสำคัญของป่าชายเลนให้มากขึ้น ทั้งยังเป็นที่ท่องเที่ยวอีกที่หนึ่งที่น่าสนใจมาก เพราะการที่เราได้เห็นสัตว์และพืชพันธุ์ต่าง ๆ ที่เราไม่มีโอกาสเห็นในชีวิตประจำวันนั้น ถือเป็นการเปิดโลกของการเรียนรู้ใหม่ ๆ ได้เป็นอย่างดี


ฟังการบรรยายโครงการพระราชดำหริของในหลวงรัชกาลที่9 ในการพัฒนาป่าโกงกาง การเพราะเลี้ยงกุ้ง และการดำเนินงานต่างๆของโครงการ





หลังจากรับฟังการบรรยายแล้วเจ้าหน้าที่ศูนย์พาเดินชมโครงการอนุรักษ์ชายเลนป่าโกงกางและวิธีชีวิตสัตว์น้ำที่อาศัยตามแนวชายเลน






เจ้าหน้านำเดินทางชมชายป่าโกงกางพร้องบรรยายให้ผู้นำชุมนฟัง









บ่อบำบัดน้ำเสียโดยธรรมชาติบำบัดของโครงการในหลวง

หลังเดินชมโครงการพระราชดำหริของในหลวงแล้วได้เินทางไปรับประทานอาหารที่ร้านยายตุ๊



ร้านอาหารยายตุ๊




อาหารอร่อยหรือไม่ ไม่ต้องบอกนะครับดูที่ภาพ  ทุกอย่างเกลี้ยงครับ

จากนั้นทั้งหมดก็เดินทางกลับสู่นครแหลมฉบัง จังหวัดลบุรีโดยสวัสดิภาพ




ชุมชนบ้านเขาน้ำซับต้องขอขอบคุณบริษัท ปตท.ที่ได้จัดสัมมนาดูงานในภาคตะวันออกในครั้งนี้ เพื่อที่ผู้นำชุมชนจะได้เก็บความรู้ที่ได้รับมาพัฒนาท้องถิ่นต่อไป


วันพฤหัสบดีที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2562

ชาวชุมชนบ้านเขาน้ำซับแห่แสดงสิทธิ์ผู้สูงอายุคึกคัก

        เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2562 ฝ่ายส่งเสริมและบริการสังคม กองสัสดิการสังคม เทศบาลนครแหลมฉบัง
ได้เปิดให้บริการประชาชนในเขตชุมชนมาแสดงสิทธิ์ตนผู้สูงอายุและผู้พิการประจำปี 2562

        เพื่ออำนวยความสะดวกแก่พี่น้องประชาชนโดยมิต้องเดินทางไปแสดงตนที่เทศบาลเหมือนครั้งที่
ผ่านมา ซึ่งในวันนี้ประชาชนที่ได้รับทราบข่าวสารจากคณะกรรมชุมชนที่ได้ประชาสัมพันธ์ไปล่วงหน้า
ก่อนหน้านี้ได้เดินทางมาแสดงตนเป็นจำนวนมากที่ที่ทำการชุมชนบ้านเขาน้ำซับ

       ในการนี้ทางธนาคารออมสินสาขาศรีราชาได้เดินทางมาอำนวยความสะดวกแก่ผู้สูงอายุที่มีบัตร
สวัสดิการแห่งรัฐเพื่อเปิดบัญชีใหม่โดยมิได้เสีบค่าธรรมเนียมใดๆทั้งสิ้น  ทำให้พี่น้องประชาชนผู้สูง
อายุได้ใช้บริการทำนวนมาก

      ในการนี้คณะกรรมการชุมชนต้องขอบคุณทางกองสวัสดิการสังคม เทศบาลนครแหลมฉบังอย่างยิ่ง
ที่ได้อำนวยความสะดวกแก่ผู้สูงในชุมชน









เจ้าหน้าที่ฝ่ายส่งเสริมและบริการสังคมตรวจเอกสาร




เจ้าหน้าที่รับลงทะเบียน



ผู้สูงอายุมาแสดงตน





มีทั้งผู้สูงอายุและผู้ที่พิการ




ผู้สูงอายุทะยอยมาแสดงตน




เจ้าหน้าที่ให้บริการและประชาสัมพันธ์แก่ผู้สูงอายุ




มากันแสดงตนกันเยอะมากๆ












เจ้าหน้าที่ธนาคารออมสิย สาขาศรีราชามาบริการเปิดบัญชีให้แก่ผู้สูงอายุ
โดยไม่เสียค่าธรรมเนียมใดๆทั้งสิ้น
















กองสวัสดิการสังคม






ผู้สูงอายุ และผู้พิการในชุมชน




 ภาพ  สมใจ อินทร์บุตร
 กรรมการชุมชนบ้านเขาน้ำซับ